Stay updated

ข่าวสารและกิจกรรม

Arcserve Continuous Availability and Data Replication Solutions

การสำรองข้อมูล (Backup) คืออะไร? ประโยชน์และวิวัฒนาการ

Arcserve Continuous Availability and Data Replication Solutions

การสำรองข้อมูล (Backup) คืออะไร

การสำรองข้อมูล (Backup) หมายถึงการคัดลอกข้อมูล เช่น ไฟล์, ฐานข้อมูล, ระบบคอมพิวเตอร์, ระบบคอมพิวเตอร์เสมือน (Computer Virtualization) ไปยังสถานที่เก็บอื่นๆเพื่อการเก็บรักษาในกรณีที่อุปกรณ์ขัดข้องหรือเกิดภัยพิบัติ กระบวนการสำรองข้อมูลที่ดีและถูกต้องมีความสำคัญต่อความสำเร็จของแผนการกู้คืนข้อมูลหลังเกิดภัยพิบัติ (Disaster Recovery Plan)

ระบบสำรองข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะลดความเสี่ยงที่เกิดจากซอฟต์แวร์มีปัญหา ข้อมูลเสียหาย ฮาร์ดแวร์เสีย การถูกแฮ็กระบบ ข้อผิดพลาดของผู้ใช้ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอื่นๆ การสำรองข้อมูลจะบันทึกและจัดเก็บข้อมูลในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง สำหรับการกู้คืนข้อมูลไปยังก่อนช่วงเวลาที่เกิดปัญหา

นอกจากการสำรองข้อมูลที่ดีแล้ว การทดสอบการกู้คืน (Disaster Recovery Test) จะตรวจสอบแนวปฏิบัติการกู้คืนข้อมูลเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและการจำลองการกู้คืนข้อมูลก็เป็นสิ่งสำคัญ เป้าหมายคือเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถดึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้หากมีความจำเป็น

คำว่าการสำรองข้อมูล (Data Backup) และการปกป้องข้อมูล (Data Protection) มักใช้สลับกันได้ แม้ว่าการปกป้องข้อมูลจะครอบคลุมเป้าหมายที่กว้างกว่าสำหรับความต่อเนื่องทางธุรกิจ เช่น การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การจัดการข้อมูลและการป้องกันมัลแวร์และไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ประโยชน์ของการสำรองข้อมูล

  1. เพื่อป้องกันการทำข้อมูลสูญหาย ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
  2. เพื่อกู้ข้อมูลเก่า เพราะการแก้ไขข้อมูลปัจจุบันมีปัญหา หรือไฟล์ที่ใช้งานไม่ได้ และต้องการกลับไปใช้ข้อมูลเก่าก่อนหน้านี้
  3. ป้องกันสื่อเก็บข้อมูลเสียหาย ถ้าหากว่าสื่อเก็บข้อมูลเสียหายแล้ว จะกู้คืนข้อมูลกลับมาได้ยากมาก
  4. ป้องกันการติดไวรัส และโจรกรรมข้อมูลจากทาง Hacker

ความสำคัญของการสำรองข้อมูล

การสำรองข้อมูลเป็นหนึ่งในองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในองค์กรใดๆ เนื่องจากช่วยป้องกันข้อมูลสูญหาย การสำรองข้อมูลเป็นวิธีการกู้คืนไฟล์ที่ถูกลบหรือกู้คืนไฟล์เมื่อถูกเขียนทับโดยไม่ได้ตั้งใจ

นอกจากนี้ การสำรองข้อมูลมักจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดขององค์กรในการกู้คืนจากการโจมตีของแรนซัมแวร์ (Ransomware) หรือจากเหตุการณ์การสูญเสียข้อมูลที่สำคัญ เช่น ไฟไหม้ในศูนย์ข้อมูล

ควรสำรองข้อมูลใดบ้างและบ่อยแค่ไหน?

กระบวนการสำรองข้อมูลจะขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูลหรือแอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กระบวนการนี้ควบคุมโดยนโยบายการสำรองข้อมูล (Backup, Disaster Recovery Policy) ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งระบุความถี่ในการสำรองข้อมูลและจำนวนสำเนาที่ซ้ำกันเป็นสิ่งจำเป็น เช่นเดียวกับข้อตกลงระดับบริการ ( Service Level Agreement – SLA ) ที่กำหนดว่าข้อมูลจะต้องสามารถกู้คืนได้รวดเร็วแค่ไหน

แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดแนะนำว่าควรมีการกำหนดเวลาสำรองข้อมูลทั้งหมด (Full Backup) ให้เกิดขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยมากจะทำในช่วงสุดสัปดาห์หรือนอกเวลาทำการ นอกจากการสำรองข้อมูลทั้งหมดแบบรายสัปดาห์ องค์กรมักจะกำหนดเวลางานสำรองข้อมูลส่วนต่างหรือส่วนเพิ่มที่สำรองเฉพาะข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่มีการสำรองข้อมูลทั้งหมดตามระดับความสำคัญและความต้องการในการกู้คืนข้อมูลที่ระบุในนโยบาย

วิวัฒนาการของสื่อบันทึกสำรองข้อมูล

องค์กรมักจะสำรองข้อมูลสำคัญไปยังอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เช่น เทป (Tape) หรือดิสก์ (Disk Backup) และใช้ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลที่ออกมาแบบโดยเฉพาะ โดยอาจะจะรวมอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน (Backup Appliance) หรือทำงานบนเซิร์ฟเวอร์แยกต่างหาก ระบบจะจัดการกระบวนการคัดลอกข้อมูลไปยังอุปกรณ์ดิสก์ ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลจัดการกระบวนการต่างๆ เช่นการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน (Deduplication) ซึ่งลดจำนวนพื้นที่หรือเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลยังบังคับใช้นโยบายที่ควบคุมความถี่ในการสำรองข้อมูล จำนวนสำเนาที่ทำขึ้น และตำแหน่งที่จัดเก็บข้อมูลสำรองได้ตามนโยบายการสำรองข้อมูลที่กำหนด (Backup Plan)

เทป (Tape)

ก่อนที่ดิสก์จะกลายเป็นสื่อสำรองข้อมูลหลักในช่วงต้นทศวรรษ 2000 องค์กรส่วนใหญ่ใช้เทปไลบรารี (Tape Library) เพื่อจัดเก็บสำรองข้อมูลของศูนย์ข้อมูลลงเทป เทปยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันสำหรับข้อมูลที่เก็บถาวรเป็นหลักซึ่งไม่จำเป็นต้องกู้คืนอย่างรวดเร็ว บางองค์กรได้นำแนวปฏิบัติในการใช้ดิสก์ไดรฟ์แบบถอดได้มาใช้แทนเทป แต่แนวคิดพื้นฐานของการสำรองข้อมูลไปยังสื่อแบบถอดได้ยังคงเหมือนเดิม

ดิสก์ (Disk)

การสำรองข้อมูลบนดิสก์ทำให้องค์กรสามารถปกป้องข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ก่อนที่จะมีการสำรองข้อมูลบนดิสก์ องค์กรมักจะสร้างการสำรองข้อมูลเพียงครั้งเดียวต่อวันในช่วงกลางคืน ก่อนหน้านี้ การสำรองข้อมูลทุกคืนเป็นการสำรองข้อมูลระบบทั้งหมด (Full Backup) เมื่อเวลาผ่านไป ไฟล์สำรองก็ใหญ่ขึ้น ในขณะที่ระยะเวลาสำหรับการสำรองข้อมูลยังคงมีเท่าเดิมหรือลดลง สิ่งนี้บังคับให้หลายองค์กรสร้างการสำรองข้อมูลเฉพาะส่วนที่แตกต่างแทน (Incremental or Differential Backup) ในแต่ละวันแทน

Virtual Tape Library (VTLs)

ระบบสำรองข้อมูลดิสก์ยุคแรกเรียกว่า Virtual tape library (VTLs) เนื่องจากมีการออกแบบดิสก์ที่ให้ทำงานในลักษณะเดียวกับเทปไดร์ฟ ด้วยวิธีนี้ แอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลที่พัฒนาขึ้นเพื่อเขียนข้อมูลลงเทปสามารถปฏิบัติและใช้งานกับดิสก์เสมือนเป็นไลบรารีเทปจริงได้ VTL หายไปจากการใช้งานที่ได้รับความนิยมหลังจากผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนให้สำหรับใช้งานดิสก์โดยตรงแทนเทป

การปกป้องข้อมูลอย่างต่อเนื่อง (Continuous Data Protection)

แพลตฟอร์มการปกป้องข้อมูลอย่างต่อเนื่อง (Continuous Data Protection) สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์ ระบบจะทำการสำรองข้อมูลทั้งหมดเริ่มต้นไปยังดิสก์ จากนั้นทำการสำรองข้อมูลส่วนเพิ่มทุกๆ นาทีหรือวินาทีเมื่อมีการสร้างหรือแก้ไขข้อมูล การสำรองข้อมูลประเภทนี้สามารถปกป้องทั้งข้อมูลได้ตลอดเวลาและสามารถปกป้องข้อมูลได้ทุกประเภท

Arcserve Continuous Availability and Data Replication Solutions
การปกป้องข้อมูลอย่างต่อเนื่อง (Continuous Data Protection)

อุปกรณ์สำรองข้อมูลแบบฮาร์ดแวร์สำรองข้อมูล  (Backup Appliance)

ในช่วงแรกๆ ของการสำรองข้อมูลบนดิสก์ ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลได้รับการออกแบบให้ทำงานบนเซิร์ฟเวอร์แยกต่างหาก ซอฟต์แวร์นี้ประสานกระบวนการสำรองข้อมูลและเขียนข้อมูลสำรองไปยังดิสก์จัดเก็บข้อมูล ระบบเหล่านี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วเนื่องจากทำหน้าที่เป็นการสำรองข้อมูลออนไลน์ ซึ่งหมายความว่าสามารถสำรองหรือกู้คืนข้อมูลได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องต่อเทปอีกต่อไป

Arcserve Appliance Overview
อุปกรณ์สำรองข้อมูลแบบฮาร์ดแวร์สำรองข้อมูล  (Backup Appliance)

แม้ว่าผลิตภัณฑ์สำรองข้อมูลบางรายการยังคงใช้เซิร์ฟเวอร์สำรองแยกต่างหาก ผู้จำหน่ายระบบซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลกำลังเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ป้องกันและสำรองข้อมูลแบบฮาร์ดแวร์สำรองข้อมูล  (Backup Appliance) มากขึ้น อย่างง่ายที่สุด อุปกรณ์ข้อมูลแบบฮาร์ดแวร์สำรองข้อมูล คือเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้ง HDD และซอฟต์แวร์สำรองข้อมูล อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบปลั๊กแอนด์เพลย์ (Plug & Play) เหล่านี้มักจะมีคุณลักษณะอัตโนมัติสำหรับการตรวจสอบความจุของดิสก์ พื้นที่จัดเก็บที่ขยายได้ และสามารถเชื่อมต่อเทปไลบรารี่ที่กำหนดค่าไว้ล่วงหน้า

อุปกรณ์สำรองข้อมูลแบบ Hyper-converged (Hyper-converged Backup Appliance)

ผู้จำหน่ายข้อมูลสำรองบางรายได้เริ่มเสนอแพลตฟอร์มสำรองข้อมูลแบบ Hyper-converged (Hyper-converged Backup Appliance) ที่มีพื้นฐานมาจากการใช้ระบบไฮเปอร์คอนเวอร์จ (Hyper-converged) ระบบเหล่านี้ประกอบด้วยกลุ่มของโหนดเซิร์ฟเวอร์ (คลัสเตอร์ – Cluster) ที่ได้ถูกรวมกลุ่มเข้าด้วยกันและจัดการกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสำรองข้อมูลโดยรวม ประโยชน์หลักของระบบสำรองข้อมูลแบบไฮเปอร์คอนเวอร์จประการหนึ่งคือสามารถปรับขนาดได้ง่าย แต่ละโหนด (Node) ภายในระบบไฮเปอร์คอนเวอร์จประกอบด้วยที่เก็บข้อมูล การประมวลผล และทรัพยากรเครือข่ายในตัว ผู้ดูแลระบบสามารถปรับขนาดความจุสำรองขององค์กรได้ง่ายๆ โดยการเพิ่มโหนดในคลัสเตอร์

Arcserve N Series Appliances
อุปกรณ์สำรองข้อมูลแบบ Hyper-converged (Hyper-converged Backup Appliance)

 

ไม่ว่าจะเป็นไฮเปอร์คอนเวิร์จหรือไม่ก็ตาม อุปกรณ์สำรองข้อมูลบนดิสก์ส่วนใหญ่จะอนุญาตให้ย้ายสำเนาจากดิสก์ไปยังเทปแม่เหล็กเพื่อการเก็บรักษาในระยะยาว ระบบเทปแม่เหล็กยังคงใช้อยู่ เนื่องจากความจุของเทปเพิ่มขึ้นและความจำเป็นของการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลานาน

ไดรฟ์โซลิดสเทต (SSD)

ไดรฟ์โซลิดสเทต (SSD) เริ่มมีการใช้สำหรับการสำรองข้อมูลมากขึ้น แต่เนื่องจากข้อกังวลด้านราคาและความทนทานยังอาจจะไม่เป็นที่นิยมมากนก ผู้จำหน่ายอุปกรณ์สำรองข้อมูลแบบฮาร์ดแวร์สำรองข้อมูล  (Backup Appliance) บางรายมี SSD เป็นเครื่องมือแคชหรือจัดระดับสำหรับจัดการการเขียนด้วยอาร์เรย์บนดิสก์ นี่เป็นข้อดีในด้านความรวมเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบไฮเปอร์คอนเวอร์จ ข้อมูลจะถูกแคชในที่จัดเก็บข้อมูลแฟลชในขั้นต้นแล้วเขียนลงดิสก์ เนื่องจากผู้จำหน่าย SSD เริ่มผลิต SSD ที่มีความจุมากกว่าดิสก์ไดรฟ์ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการสำรองข้อมูลและสามารถทดแทนดิสก์ได้ในอนาคต

ที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ (Cloud Storage)

การสำรองข้อมูลที่จะส่งสำเนาข้อมูลไปยังที่อื่น ซึ่งอาจรวมถึงศูนย์ข้อมูลสำรองของบริษัทหรือสถานที่เช่าพื้นที่จัดเก็บแบบเช่า การสำรองข้อมูลนอกสถานที่ ซึ่งปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เท่ากับการสมัครสมาชิกที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์เป็นบริการ ซึ่งให้ต้นทุนต่ำ ความจุที่ปรับขนาดได้ และลดความต้องการของลูกค้าในการซื้อและบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์สำรอง และจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

การสำรองข้อมูลแบบ Offsite Backup

ระบบซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลที่ทันสมัยได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถที่แข็งแกร่งขึ้นสำหรับการสำรองข้อมูล คุณสมบัติเหล่านี้รวมถึง แผนการสำรองข้อมูลแบบสแน็ปช็อต (Snapshot) ไม่จำกัดและเครื่องมือสำหรับการทำสำเนอาสแน็ปช็อต (Replicate Snapshot) ไปยังศูนย์ข้อมูลสำรองหรือแม้แต่การสำรองข้อมูลไปยังที่อื่น (Offsite Backup) ข้อมูลจะถูกส่งผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีแบนด์วิดท์สูงหรืออินทราเน็ตขององค์กรและสามารถกู้คืนไปยังที่อื่นๆได้

สำรองข้อมูลและที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ (Cloud Backup and Storage)

การสำรองข้อมูลไปบนคลาวด์ เป็นที่นิยมมากขึ้นและมีราคาที่ถูกลงอย่างมากในปัจจุบัน และเป็นที่นิยมสำหรับการทำเป็นสถานที่สำรองข้อมูลหลักและสถานที่สำรองข้อมูลสำรอง (DR Site) การให้บริการสำรองข้อมูลบนคลาวด์มักจะเรียกว่า Backup-as-a-Service (BaaS) ซึ่งให้ต้นทุนต่ำ ความจุที่ปรับขนาดได้ และลดความต้องการของลูกค้าในการซื้อและบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์สำรอง

Arcserve Cloud Direct
สำรองข้อมูลและที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ (Cloud Backup and Storage)

การสำรองข้อมูลบนคลาวด์แบ่งออกเป็น:

  • Public Cloud Storage ที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์สาธารณะ ผู้ใช้ส่งข้อมูลไปยังผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิกรายเดือนตามพื้นที่เก็บข้อมูลที่ใช้ไป มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับขาเข้าและขาออกของข้อมูล โดยมี AWS, Google Cloud และ Microsoft Azure เป็นผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนั้นยังมี ผู้ให้บริการรายย่อยที่มีการจัดการการสำรองข้อมูลบนคลาวด์ของตนหรือจัดการข้อมูลสำรองของลูกค้าบนคลาวด์สาธารณะขนาดใหญ่
  • Private Cloud Storage ที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ส่วนตัว ข้อมูลจะได้รับการสำรองข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ ภายในไฟร์วอลล์ของบริษัท โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ระหว่างศูนย์ข้อมูลภายในองค์กรและศูนย์ข้อมูลสำรอง (DR Site) ด้วยเหตุนี้ บางครั้งที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ส่วนตัวจึงถูกเรียกว่าที่ เก็บข้อมูลบนคลาวด์ภายใน (Internal Cloud)
  • Hybrid Cloud Storage ที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์แบบไฮบริด บริษัทใช้พื้นที่จัดเก็บทั้งในและนอกสถานที่ องค์กรต่างๆ มักจะเลือกใช้ที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) สำหรับการเก็บข้อมูลถาวรและการเก็บรักษาในระยะยาว พวกเขาใช้ที่เก็บข้อมูลส่วนตัว (Private Cloud) สำหรับการเข้าถึงในเครื่องและสำรองข้อมูลเพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญที่สุดและต้องการความรวดเร็ว

Disaster Recovery as a Service (DRaaS)

ผู้จำหน่ายระบบซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลส่วนใหญ่ มีการให้บริการเพิ่มเติมที่ช่วยให้สามารถสำรองข้อมูลแอปพลิเคชันของผู้ใช้งานไปยังระบบคลาวด์ได้ทั้ง Public และ Private Cloud เพื่อเพิ่มเนื้อที่ของที่จัดเก็บข้อมูลลูกค้า Disaster Recovery as a Service (DRaaS) นอกจากนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ทำให้ระบบของลูกค้ามีปัญหาหรือใช้งานไม่ได้ ระบบซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลสามารถทำให้ระบบและแอปพลิเคชันของลูกค้าสามารถทำงานต่อได้บนคลาวด์และยังสามารถกู้คืนกลับไปยังระบบเดิมได้

การสำรองข้อมูลแบบ Cloud-to-cloud (C2C)

เป็นแนวทางทางเลือกที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น การสำรองข้อมูล Cloud-to-Cloud (C2C) ใช้สำหรับปกป้องข้อมูลบนแพลตฟอร์ม Software as a Service (SaaS) เช่น Salesforce หรือ Microsoft Office 365 ข้อมูลเหล่านนี้มักมีอยู่ในระบบคลาวด์เท่านั้น แต่ผู้จำหน่าย SaaS มักจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจำนวนมากในการกู้คืนข้อมูลที่สูญหายเนื่องจากข้อผิดพลาดของลูกค้า การสำรองข้อมูล C2C ทำงานโดยการคัดลอกข้อมูล SaaS ไปยังคลาวด์อื่น ทำให้สามารถกู้คืนได้หากมีข้อมูลสูญหาย

การสำรองข้อมูล (Backup) และที่เก็บข้อมูลสำรองสำหรับพีซีและอุปกรณ์มือถือ

ผู้ใช้พีซีสามารถพิจารณาทั้งการสำรองข้อมูลภายในเครื่องจากฮาร์ดดิสก์ภายในของคอมพิวเตอร์ไปยังฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกที่ต่ออยู่หรือสื่อแบบถอดได้ เช่น USB Drive

อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคคือการสำรองข้อมูลจากสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตไปยังที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ ซึ่งหาได้จากผู้จำหน่าย เช่น Box, Carbonite, Dropbox, Google Drive, Microsoft OneDrive และอื่นๆ บริการเหล่านี้มักใช้เพื่อมอบความจุบางอย่างฟรี ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อพื้นที่จัดเก็บเพิ่มเติมได้ตามต้องการ โดยทั่วไปข้อเสนอบนคลาวด์สำหรับผู้บริโภคเหล่านี้ไม่ได้ให้ระดับของการรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่จำเป็นสำหรับธุรกิจซึ่งจะแตกต่างจากการให้บริการที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ขององค์กร

ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์สำรองข้อมูล

  • ผู้จำหน่ายที่ขายแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์สำรองข้อมูล (Backup Appliance) ได้แก่
    • Arcserve Appliance, Barracuda Networks, Cohesity, Dell EMC (Data Domain), Drobo, ExaGrid Systems, Hewlett Packard Enterprise, Hitachi Vantara, IBM, NEC Corp., Oracle StorageTek (ไลบรารีเทป), Quantum Corp., Rubrik, Spectra Logic, Unitrends และ Veritas NetBackup
  • ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลระดับองค์กรชั้นนำ ได้แก่
    • Acronis, Arcserve, Asigra, Commvault, Datto, Dell EMC Data Protection Suite (Avamar และ NetWorker), Druva, Nakivo, Veeam Software และ Veritas Technologies

แชร์:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า